การยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. คืออะไร?

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สำหรับผู้ที่ต้องชำระภาษี จะต้องมี การยื่นแบบฯภาษี เพื่อเป็นการแสดงหลักฐาน ซึ่งการยื่นแบบแต่ละชนิด จะมีรูปแบบที่แตกต่างกัน มาทำความรู้จักกับการยื่นแบบฯประเภทต่างๆกันก่อนดีกว่า สำหรับแบบยื่นภาษีนั้น เราจะเรียกว่า "ภ.ง.ด." ย่อมาจาก ภาษีเงินได้ โดยจะมีหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

"ภ.ง.ด. 90" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป เช่นรายได้จากการมีทรัพย์สินให้เช่า การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือมีกิจการเป็นของตัวเอง ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี
"ภ.ง.ด. 91" คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคมของทุกปี
"ภ.ง.ด. 93" สำหรับขอชำระภาษีล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ
"ภ.ง.ด. 94" เป็นรูปแบบการยื่นแสดงภาษีแบบครึ่งปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน รายได้จากค่าเช่า รายได้ค่านายหน้า รายได้ค่ารับเหมา รายได้จากการค้าขาย เป็นต้น และต้องยื่นแบบฯในระหว่างเดือน กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุกปี



ข้อมูลดีๆ จาก sanook ครับ
More aboutการยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. คืออะไร?

สุดยอด 8 เทคนิค การออมเงิน ไว้เหลือใช้ตลอดชีวิต

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เงินเป็นสิ่งที่หายากใช้ง่าย แต่ถ้าเรารู้จักการเก็บออม ในยามฉุกเฉิน ก็จะไม่ต้องลำบากลำบนไปกู้หนี้ยืมสินให้ชีวิตมีภาระ การออมเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องปฏิบัติให้สม่ำเสมอ ควรปลูกฝังการประหยัดเงินตั้งแต่อายุน้อย ลองมาดูทริคเด็ดๆ การออมเงินแบบง่ายๆ ให้คุณได้มีเงินออมเพื่ออนาคต

  1. ซื้อกระปุกออมสินมาวางไว้ในที่ที่คุณคุ้นเคย เช่น โต๊ะทำงาน ข้างเครื่องคอมพิวเตอร์ บนหัวเตียง เลือกเอาที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกนิสัยการออม โดยจะได้ไม่ลืมใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยและหยอดออมสินทุกครั้งที่มีเงินเหลือ

  2. ท่องคำว่า "ความจำเป็น" กับ "อยากได้" เพราะของทุกอย่างล้วนมีระดับความจำเป็นไม่เท่ากัน ถ้าซื้อของเพียงแค่เพราะอยากได้ รับรองว่า กระเป๋าคุณฟีบอย่างแน่นอน

  3. ทำแบบบันทึกรายรับรายจ่าย พกสมุดเล่มเล็กๆเอาไว้ หรือถ้าจะให้ทันสมัยหน่อยก็บันทึกในสมาร์ทโฟนเอาก็ได้

  4. เอาเงินไปฝากธนาคารแบบฝากประจำ อันนี้เป็นวิธีที่หลายคนนิยมปลอดภัยสุดๆเมื่อเม็ดเงินของคุณถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี

  5. หางานพิเศษ นอกเหนือจากรายได้ประจำ เพิ่มรายได้เพื่อนำมาเก็บออม วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับนักศึกษาทั้งที่เรียนอยู่และจบทำงานแล้ว

  6. ซื้อของลดราคา อย่างน้อยก็ประหยัดไปได้กว่าครึ่ง

  7. อย่าหลงคำโฆษณา เห็นแล้วดีแบบโน้นแบบนี้ ถ้าซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ ก็ยิ่งสูญเปล่า

  8. เรียนรู้กับหลักดำเนินชีวิตที่ในปัจจุบันกำลังนิยมมากคือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ในข้อนี้สำคัญมากเพราะเป็นสิ่งที่ในหลวงของเราทรงย้ำเตือนคนไทยมากว่าหลายปี เป็นสิ่งที่ทุกคนควรอย่างยิ่งที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


ข้อมูลดีๆ จาก sanook เค้าครับ
More aboutสุดยอด 8 เทคนิค การออมเงิน ไว้เหลือใช้ตลอดชีวิต

เคล็ดลับ การเขียนแผนการตลาด สำหรับ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กลยุทธ์ทางการตลาด มีความต่อเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลหรือเรียกว่าการทำวิจัยตลาด การกำหนดยุทธ์ทางการตลาดเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับกับทำธุรกิจให้มีความชัดเจนขึ้นมากขึ้น และเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับตัวสินค้า กลุ่มเป้าหมาย วิธีการขาย การประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงต้องวางแผนการทางการตลาด หนึ่งในนั้นคือ เทคนิคการเขียนแผนการตลาดนั่นเอง

1.ความหมายของการตลาด 
การดำเนินกิจการทางธุรกิจจำเป็นต้องคิดล่วงหน้าไว้ ถ้ากล่าวถึงเรื่องแผนการตลาด คือ แผนเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น เปิดร้านต้องมีแผนในการขายของหน้าร้าน ถ้าผลิตสินค้าส่งไปขายนอกร้านให้ผู้แทนจำหน่ายไปขายก็คือแผนการจัดจำหน่าย คำว่า “การตลาด” ตามที่ผู้ประกอบการ เคยได้ยินตามปกติ แต่จริง ๆ แล้วมีความหมายพิเศษหลายมิติคือ

การตลาดในมิติที่ 1 คือ การซื้อ การขาย การไปตลาดเพื่อไปซื้อไปขายสินค้า ในฐานะผู้ประกอบการ หรือในฐานะผู้บริโภคก็ตาม

การตลาดในมิติที่ 2 คือ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้มวลชนเข้าใจว่าเรามีสินค้าอะไรบ้าง สามารถหาซื้อได้ที่ไหน อย่างไร เป็นการตลาดเชิงระบบที่ประกอบด้วยการสื่อสารเพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและสร้างความต้องการของผู้บริโภค

การตลาดในมิติที่ 3 คือ นอกจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์แล้ว นักธุรกิจจำเป็นต้องการขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ผู้บริโภค ซื้อหากัน หรือจัดส่งถึงที่ทำงาน หรือที่บ้าน

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคิดให้เพียงพอและครอบคลุม เช่น ถ้าเป็นผู้ประกอบการรายเล็กก็ไม่ต้องคิดซึ้งมาก เช่น อาจจะคิดแค่ว่าการตลาด ที่เกี่ยวกับการขายของหน้าร้าน การโฆษณา ประชาสัมพันธ์การออกร้านขายของบ้าง การใช้ใบปลิวโฆษณา การส่งสินค้าตรงตามที่กำหนด เก็บเงินให้ได้ ก็ถือว่าครบตามกระบวนการทั่วไปของการตลาด

 2.ขั้นตอนการวางแผนทางการตลาด 
การวางแผนทางการมี 4 ขั้นตอนด้วยกัน

2.1 การกำหนดวิสัยทัศน์
การที่ต้องนึกก่อนว่าอีก 3-4 ปีข้างหน้า ร้านเราจะเป็นร้านที่ใหญ่ ขนาดใหญ่ เช่น ถ้าสมมุติว่าเราเป็นร้านอาหาร อีก 3 ปีข้างหน้า และก็เป็นร้านที่ดังที่สุดในตำบลนี้ ซึ่งตรงนี้ถือว่าเรามีเป้าแล้วเราก็จะยินคำว่า Vision ซึ่งแปลว่า วิสัยทัศน์ ส่วน Mission คือ พันธกิจ หมายความว่า จะทำให้ถึงตรงนั้นได้อย่างไร พูดง่าย ๆ ก็คือว่าเราต้องมีวัตถุประสงค์ว่าร้านเราตั้งขึ้นมาทำไม

2.2 การกำหนดยุทธศสตร์
การวางแผนทางการตลาดต้องมีแนวทางในการให้ไปถึงเป้าให้ได้ เรียกว่ายุทธศสตร์หรือกลยุทธก็ได้ โดยทั่วไปแล้วเราต้องมี ยุทธศาสตร์ เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่น ความพยายามที่ได้รวมพลัง ไม่กระจัดกระจาย และมี กลยุทธเพื่อให้มีสมาธิในการประกอบการ เพื่อที่ให้ทีมงานมีความมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน นั้นก็คือ การวางแผน

2.3 การกำหนดนโยบายธุรกิจ
ธุรกิจนี้ไม่ใช่แค่ว่าการตลาด แต่ยังมีการผลิต การเงิน การบริหารงานบุคคล นโยบายเป็นกติกาที่ทุกคนในองค์กรต้องปฎิบัติ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า การวางแผนการตลาด โดยองค์รวม

 3.ความสำคัญของแผนการทางการตลาด 
ในการปฏิบัติอาจจะสูญเปล่าจากที่ไม่มีแผน หรือ การคิดล่วงหน้า ทำตามธรรมชาติ ข้อดีในการไม่มีแผน คือ ไม่มีความกดดัน ทางเลือกก็ไม่จำกัด แต่ก็มีข้อเสียมากมาย เช่น ถ้าไม่มีแบบแผนก็ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีการพัฒนาเพราะว่าทำตามธรรมชาติ

3.1 สามารถประเมินผลการปฎิบัติงานได้
การที่มีแผนงานจะทำให้เราสามารถประเมิน หรือ สามารถเปรียบเทียบ ทำถูกหรือทำผิดเป้าหมาย เมื่อมีการเปรียบเทียบก็จะทำให้มีการศึกษาว่า เราทำผิดหรือทำถูกเป้าหมาย และที่สำคัญคือการมีสถิติในการนำมาอ้างอิง

3.2 สร้างวัฒนธรรมเพื่อการเติบโตของกิจการ
แผนถ้าเริ่มตั้งแต่องค์กร หรือร้านขนาดเล็ก ข้อดี ก็จะเป็นการฝึกการทำงาน ไม่ใช่เป็นการรอให้องค์กรใหญ่แล้วค่อยทำ อันนั้นก็จะทำให้เสียเงินแพง แล้วก็มักจะทำให้ปรับปรุงวัฒธรรมและความเคยชินไม่ได้ค่อยได้

3.3 สามารถพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างการเติมโตของกิจการ
การวางแผนจะทำให้เกิดการสังเกตุผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นนำเอาข้อมูลทางการตลาดมาสนับสนุนการวางแผนและจะทำให้เกิดการพัฒนาขององค์กรพร้อมไปด้วย

 4.เทคนิคสู่ความสำเร็จของแผนทางการตลาด 

1. แผนการตลาดต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับแผนธุรกิจ
แผนทางการตลาดจะต้องสอดคล้องกับแผนอื่น ๆ ด้วย เช่น แผนการผลิตสินค้า แผนการเงินต้องมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อความมีประสิทธิภาพ ในการนำไปปฎิบัติ

2. แผนการตลาดต้องเข้าใจง่ายสำหรับพนักงานทุกระดับ
การเขียนแผนการตลาด จะต้องทำให้พนักงานเข้าใจคำว่าให้ดีที่สุดของเราแค่ไหน แต่ถ้าบอกพนักงานว่าปีนี้เราจะโต 20 % เราก็ต้องรู้เราต้องเก่งกว่า ปีที่แล้วเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ชัดเจน เมื่อทำงานกับคนหมู่มาก หรือการทำงานเป็นทีม เราจะต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร จำเพาะเจาะจงเป็นตัวเลข ซึ่งเป็นเทคนิคของการเขียนแผนการตลาดที่เข้าใจง่าย

3. แผนการตลาดต้องเข้าให้ความสำคัญกับเรื่องบุคคลากร
บริษัทขนาดเล็กจะมีเรื่องคนเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึงจะต้องให้มีแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับคนเช่นกัน ตั้งแต่การเลือกลูกจ้าง การพัฒนาบุคคลกรให้มีความรู้ ความสามารถเพื่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
More aboutเคล็ดลับ การเขียนแผนการตลาด สำหรับ SMEs

31 วิธีข่มความกลัวก่อน ลุยธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อะไรที่ทำให้คุณ "ถอย" ออกมาจากการเริ่มต้นธุรกิจ เกร็ดต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเผชิญหน้ากับความกลัวและกลายเป็น "นายตัวเอง" ได้ในที่สุด หลายครั้งที่การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เรามักจะคิดถึงกันแต่เรื่องขั้นตอนและวิธีการ แต่แท้จริงแล้ว...

ในการเดินทางเพื่อเริ่มต้นนั้นมีเรื่องราวสำคัญพอๆ กับการเขียนแผนธุรกิจหรือการระดมเงินทุนเลยทีเดียว ด้วยแผนธุรกิจและเงินออมที่มีอยู่ในมือ คุณยังไม่จำเป็นต้องลาออกจากงาน หลังจากที่ออกจากงานและกลับเข้ามาทำใหม่ถึงสองครั้ง ก็พบว่ามีวิธีการที่จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจกลับคืนมาและเอาชนะความกลัวได้

และต่อไปนี้คือ 31 วิธีการที่ใช้ได้ผลกับคุณด้วยเช่นกัน

  1. ยอมรับฟังเสียงเรียกร้องในหัวใจของคุณ คุณยังไม่จำเป็นต้องรู้ในตอนนี้ก็ได้ว่าคุณจะทำอะไรหรือจะทำอย่างไร แค่เพียงตระหนักถึงเสียงภายในของคุณที่ร่ำร้องจะออกมาสู่โลกของ "ผู้ประกอบการ" เขียนว่า "ใช่! ฉันยอมรับว่าฉันอยากได้...." ลงไปในกระดาษ และแปะไว้ที่ผนังเพื่อเตือนตัวเองว่าคุณกำลังก้าวไปข้างหน้า เมื่อคุณทำอย่างนี้ คุณก็จะเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของการเป็นเจ้านายตัวเองแล้ว

  2. เริ่มจดบันทึก เขียนไอเดีย เป้าหมาย ความรู้สึก หรืออะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในชีวิตทุกๆ วัน การบันทึกเรื่องราวจะช่วยทำให้คุณได้รู้จักตัวเองมากยิ่งขึ้น และจะมองเห็นพัฒนาการเมื่อคุณย้อนกลับมาดู

  3. เขียน "เป้าหมาย" จากการศึกษาพบว่าคนที่เขียนเป้าหมายนั้นจะประสบความสำเร็จตามที่เขียนไว้มากกว่าคนที่ไม่ได้เขียนถึง 5 เท่า เมื่อไหร่ที่คุณต้องการทำธุรกิจ? ออกจากงาน? คุณต้องเก็บเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่? ตั้งเป้าหมายและดำเนินการไปให้ถึงจุดนั้น

  4. คิดออกมาเป็นภาพ ลองใช้จินตนาการคิดถึงความต้องการในการเป็นผู้ประกอบการของคุณและเขียนลงไป เพราะคนที่สร้างสรรค์จินตนาการขึ้นมานั้นมีโอกาสที่จะได้ "สัมผัส" ประสบการณ์นั้นๆ มากกว่า ลองถามตัวเองดูว่า "ฉันอยากทำงานในออฟฟิศแบบไหน?" และ "ฉันอยากให้บริการลูกค้าแบบไหน?"

  5. สร้างและอ่านประโยคแห่ง "การยืนยัน" การยืนยันข้อความว่า "ฉันเป็น..." ในสิ่งที่คุณต้องการให้เกิดขึ้น เขียนด้วยประโยค "กาลปัจจุบัน" ประหนึ่งว่ามันเกิดขึ้นแล้ว "ฉันเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ" เป็นตัวอย่างที่ดีในการเริ่มต้น สร้างประโยคแห่งการยืนยันทำนองนี้ขึ้นมาสัก 10-20 ประโยคลงบนแผ่นกระดาษ และนำไปติดในที่ๆ สามารถมองเห็นและอ่านได้ง่าย ข้อความเหล่านี้จะช่วยให้คุณเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้

  6. ประเมิน "ความเชื่อ" ของคุณ นำกระดาษมา 1 แผ่น เขียนความเชื่อในตนเอง เงิน และอนาคตของคุณลงไปทางด้านซ้าย และลองดูว่าความเชื่อเหล่านั้นสะท้อนให้เห็นว่าคุณต้องการเชื่ออะไร หรือไม่ก็เขียนความเชื่อใหม่ๆ ของคุณลงทางขวา นำไปรวมกับประโยคแห่งการยืนยัน เคยมีลูกค้าคนหนึ่งที่ค้นพบว่าความเชื่อเกี่ยวกับเงินของเขานั้นจริงๆ แล้วเป็นความเชื่อของพ่อแม่ ดังนั้นเขาจึงสร้างความเชื่อใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเขา

  7. ทำในสิ่งที่รัก นี่จะช่วยให้คุณค้นพบและให้ความกระจ่างได้ว่าคุณจะทำกิจการใด หากคุณไม่รู้ว่าตนเองรักที่จะทำอะไร ก็ลองคิดกลับมาถึงสิ่งที่คุณชอบทำในสมัยเด็กๆ ดูก็ได้

  8. หัดทำสิ่งที่แตกต่างจากทุกวัน ลองเปลี่ยนตารางเวลาของคุณดูบ้าง ลูกค้าคนหนึ่งเคยคิดว่านี่เป็นวิธีง่ายๆ แต่ปรากฏว่ามันใช้เวลาถึง 3 วันกว่าที่เธอจะลุกขึ้นมาบนเตียงอีกด้านหนึ่งได้ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ จะช่วยปลดปล่อยความกลัวและเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำธุรกิจได้

  9. ทำ "เหมือนกับว่า" เริ่มต้นแสดงท่าทีเหมือนกับว่าคุณเป็นนายตัวเอง ลองรู้สึกถึงการที่คุณต้องจัดตารางเวลาเอง และหารายได้ให้ตัวเองดูว่าเป็นอย่างไร เมื่อคุณได้ลองเริ่มทำแล้วคุณก็จะมีความมั่นใจมากขึ้น

  10. หัดกลัวตัวเองดูบ้าง คุณกลัวที่จะต้องทำอะไร พูดอะไรบางอย่าง หรือออกไปไหนสักแห่งหรือไม่? จงกลัวต่อไปเถอะ!! การกลัวแต่ยังต้องทำต่อไปนั้นจะเป็นการสร้างกำลังใจและความเชื่อมั่นให้ตนเอง และยังเป็นการท้าทายในการเอาชนะความกลัวด้วยตัวเองได้อีกด้วย

  11. ใช้เวลาอยู่กับ "ธรรมชาติ" ทำสวน หรือเดินเล่นตามชายหาด หรือเดินป่า สภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติจะช่วยสร้างความสงบภายในจิตใจ และสามารถช่วยประคับประคองจิตใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง

  12. ยอมรับทุกความรู้สึกของคุณ คุณสามารถคาดหวังความรู้สึกทุกชนิด เมื่อคุณเริ่มต้นทำธุรกิจหรือแม้เพียงแต่คิดที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ ความรู้สึกเปราะบาง ความไม่แน่นอน ความสงสัย ความกลัว ความไม่มั่นคงนั้นเป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็รูสึกได้ ลองสร้างบทสนทนาเชิงบวกกับตัวเอง และคุยถึงความรู้สึกเหล่านี้กับเพื่อนที่สนิท และเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าคุณไม่เป็นอะไร

  13. ทำเรื่องที่ยังไม่เสร็จให้เสร็จ ลิสต์รายการที่รบกวนคุณและคุณจำเป็นต้องทำให้สำเร็จ ปรับปรุงหรือสรุปขั้นสุดท้าย หาช่องว่างสำหรับธุรกิจใหม่ของคุณโดยการทำสิ่งที่อยู่ในรายการของคุณให้เสร็จไปทีละรายการ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมตู้เย็น ข่มความโกรธ หรือทำสวนก็ตาม

  14. หาความรู้ใส่ตัว "ความรู้คือพลัง" เข้าเรียนหรือร่วมงานสัมมนาที่เกี่ยวกับการเริ่มต้น การทำตลาด และการดำเนินธุรกิจ ลูกค้ารายหนึ่งที่เริ่มต้นทำธุรกิจได้เข้าร่วมในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ซึ่งผลที่ได้ก็คือธุรกิจของเขาได้ลงในหนังสือพิมพ์ด้วย

  15. ยอมรับและเชื่อในคำชม เมื่อมีคนชม ก็ขอให้คุณยอมรับและเชื่อในคำชมนั้นๆ เพราะมันเป็นการสร้างความมั่นใจให้คุณ

  16. ยอมรับใน "พรสวรรค์" ของคุณ จงตระหนักและยอมรับในพรสวรรค์และความสามารถพิเศษของคุณ คุณชอบทำอะไรบ้างแม้ว่าคุณจะไม่ได้อะไรจากสิ่งนั้นเลยก็ตาม

  17. หยุดโทษตัวเอง หากคุณได้ยินเสียงตัวเองกำลังกล่าวโทษ ให้จดบันทึกไว้และพึงระวังเหตุการณ์นี้ เช่นหากคุณคิดว่า "ฉันดูไม่ใช่พวกผู้ประกอบการ" ก็ขอให้คุณเปลี่ยนมันเป็น "ฉันมีความสามารถที่จะทำอะไรก็ได้ที่ฉันตั้งใจทำ"

  18. ลบคำว่า "ฉันทำไม่ได้" พึงระวังในขณะที่คุณพูดว่า "ทำไม่ได้" และเปลี่ยนมันเป็นคำถามเปิดว่า "ฉันจะทำได้อย่างไร?" อย่างเช่นหากคุณกำลังรู้สึกว่า "ฉันไม่สามารถขอกู้เงินได้ เพราะเครดิตของฉันไม่ดี" ให้เป็น "ฉันจะกู้เงินได้อย่างไร?" และไปพบกับพนักงานติดตามหนี้สิน เพื่อขอเจรจาปรับเครดิตของคุณ จริงๆ แล้วผู้ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยเงินเก็บของตนเองนั้นมักจะได้รับวงเงินกู้ในที่สุด

  19. ยอมรับความยุ่งยาก ความยุ่งยากสับสนเป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มธุรกิจ ให้คุณลองบันทึกไว้และนำไปพูดคุยกับเพื่อน และรู้ไว้ว่ามันจะผ่านไปได้ในที่สุดเมื่อคุณยอมรับมันได้

  20. รู้ไว้ว่าไม่มีจังหวะเวลาที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการอาจเริ่มต้นธุรกิจด้วยหนี้สิน เงินจำนวนน้อยนิด ด้วยเงินมหาศาล ด้วยประสบการณ์น้อยนิด หรือด้วยสถานการณ์ใดๆ ก็ได้

  21. เริ่มจากเล็กๆ คุณไม่ได้เริ่มธุรกิจอย่างอลังการ แต่ให้คำนึงถึงความจริงและถามตัวเองว่า "ฉันต้องการอะไรเพื่อเริ่มธุรกิจบ้าง" และเริ่มต้นจากเล็กๆ (เพราะบางทีคุณอาจไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาทำธุรกิจเลยก็ได้)

  22. บอกว่า "ไม่" เมื่อคุณคิดว่าไม่ และบอก "ใช่" เมื่อคุณคิดว่าใช่ ครั้งต่อไปเมื่อคุณถูกถาม การตอบรับหรือปฏิเสธขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ หรือถ้าหากคุณยังไม่ได้ตัดสินใจก็ขอให้บอกไปว่า "แล้วฉันจะติดต่อคุณกลับไป"

  23. หลีกเลี่ยงการประเมินตัวเอง หากคุณกำลังคิดว่า "ความคิดนี้โง่จริง" ให้ระลึกไว้ว่าคุณเป็นคนเลือกที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้คุณยอมรับในตนเอง และสร้างไอเดียใหม่ๆ สำหรับธุรกิจได้มากขึ้น

  24. ออกห่างจาก "ความรู้สึกแย่ๆ" ครั้งต่อไปที่คุณรู้สึกแย่ ให้จดสถานการณ์ ความคิดหรือความรู้สึกที่ทำให้คุณรู้สึกเช่นนั้นลงไปทุกครั้งจนกว่าจะดีขึ้น และดูว่าคุณต้องทำอย่างไรเพื่อที่จะออกห่างจากความรู้สึกนี้ เช่น หากคุณรู้สึกว่าการจ่ายบิลเป็นเรื่องแย่ๆ และทำให้จ่ายล่าช้าอยู่เสมอ ก็ให้หันมาจ่ายหนี้ให้ตรงเวลา

  25. เผื่อใจสำหรับ "การต่อต้าน" คุณอาจมีความรู้สึกขัดแย้งในตัวเองหรือจากคนรอบข้างก็ได้ คุณควรเดินหน้าต่อไปท่ามกลางกระแสต่อต้าน โดยที่คุณเองก็ยอมรับและยังคงทำในสิ่งที่จำเป็นต่อไป

  26. ตอบคำถาม "แล้วถ้าหาก..." เช่น "แล้วถ้าหากว่ามันไม่ได้ผลล่ะ?" "แล้วถ้าหากฉันไม่ได้เงินเลยล่ะ?" ให้คุณจดบันทึกเหตุการณ์สมมติเหล่านี้ไว้ และตอบคำถามให้ได้ เช่น การตอบคำถามที่ว่า "แล้วถ้าหากฉันไม่ได้เงินเลยล่ะ?"คุณอาจตอบว่า"ฉันก็จะหางานพิเศษทำควบคู่ไปกับธุรกิจนี้"

  27. หมั่นอดทน ครั้งต่อไปถ้าคุณติดไฟแดงหรือกำลังต่อคิวอยู่ ให้ลองฝึกความอดทนเอาไว้ เพราะการฝึกความอดทนเป็นลักษณะสำคัญของผู้ประกอบการ

  28. เอาชนะอาการ "ยังดีไม่พอ" มีลูกค้าหลายรายที่ต้องพับกระดานหรือล้มเลิกโครงการไปเพราะพวกเขาคิดว่าไม่มีทักษะการขายที่ดี ไม่มีโบรชัวร์ที่ดี หรือไม่มีสินค้าที่ดีพอ ครั้งต่อไปหากคุณรู้สึกอยากจะล้มเลิก ลองหาทนทางที่จะทำให้คุณยอมรับมันให้ได้ และระลึกไว้ว่าคุณรู้มากพอที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้

  29. ขอความช่วยเหลือ เมื่อคุณรู้สึกท้าทายและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใครเลย เมื่อนั้นให้คุณขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นคือเวลาที่คุณต้องการมันมากที่สุด

  30. เชื่อในสัญชาตญาณของคุณเอง คนอื่นๆ อาจจะบอกว่าคุณเพี้ยนที่ออกจากงานดีๆ มาทำธุรกิจ แต่ไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวคุณเอง ดังนั้นจงเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณรู้ และลงมือทำ

  31. ปฏิบัติต่อตนเองด้วยความเอาใจใส่ เข้าถึงความต้องการทางจิตใจ ร่างกาย และอารมณ์ของคุณด้วยความสมดุล การดูแลตนเองจะทำให้คุณมีพลังในการสร้างสรรค์และสามารถทำงานต่างๆ ได้โดยใช้เวลาน้อยลง


จาก Entrepreneur magazine
จัดโดย  smesmart.is.in.th

More about31 วิธีข่มความกลัวก่อน ลุยธุรกิจ SMEs

เอสเอ็มอี (SMEs) เมื่อจะต้อง จัดตั้งบริษัท เอง ทำได้อย่างไร

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

ผู้ที่คิดประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือการให้บริการ ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ย่อมต้องการจะให้ธุรกิจของตนเองประสบความสำเร็จทำกำไรให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่จะเข้าสู่วงจร ของการประกอบธุรกิจ คือ การเตรียมตัวที่ดี ต้องรู้ว่าตนเองถนัดทำอะไร ลักษณะใด ความต้องการของตลาดเป็นอย่างไร มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการใด และภาระภาษีของธุรกิจนั้นมีอะไรบ้าง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะต้องมีการวางแผน และการจัดการที่ดี ก่อนที่จะเริ่มจัดทำธุรกิจ
ข้อกังวลเบื้องต้น

ปัญหาประการหนึ่ง ของผู้ที่จะเริ่มประกอบธุรกิจทั้งหลายมีความหนักใจ กังวล และลังเลในการตัดสินใจคอ จะเริ่มธุรกิจในลักษณะใด ภาระภาษีสำหรับธุรกิจนั้น มีอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายสำหรับการเริ่มธุรกิจมีจำนวนเท่าไหร่ จากจุดนี้เอง การพิจารณาถึงรูปแบบ ในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ จึงจัดว่ามีความสำคัญในอันดับแรกๆ สำหรับการเริ่มประกอบธุรกิจเลยทีเดียว เนื่องจากปัจจุบันนี้ รูปแบบการจัดตั้งองค์กรธุรกิจ มีให้เลือกมากมายหลายประเภท ขึ้นอยู่กับความประสงค์ ของผู้ประกอบการ เช่น กิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งองค์กรธุรกิจแต่ละประเภท ต่างก็มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบที่แตกต่างกัน การศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย ของการจัดตั้งองค์กรธรกิจในด้านต่างๆ จะช่วยทำให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจ เลือกรูปแบบองค์กรธุรกิจที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับตนเองได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม องค์กรธุรกิจที่นิยมจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของนิติบุคคล ที่เราเรียกกันว่า "บริษัทจำกัด" เหตุที่เป็นที่นิยม เนื่องจากเป็นรูปแบบองค์กรธุรกิจที่ดูน่าเชื่อถือ มีภาพลักษณ์ที่ดี มีหลักมีฐาน เพราะได้รับการรับรองจากหน่วยงานราชการในขั้นหนึ่งแล้วว่า มีตัวตนจริง มีการจำกัดขอบเขตของความรับผิดชอบ ในหนี้สิน ที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ลงทุน การลดภาระภาษีอากร โดยนำรายได้ต่างๆ หักจากรายจ่าย และสามารถยกยอดขาดทุนสะสมของปีที่ผ่านมา มาตัดกำไรในการประกอบการปีต่อๆ ไปได้อีก เป็นต้น

ถึงแม้บ่อยครั้งเราจะได้ยินคำว่า "บริษัทจำกัด" หรือได้เห็นป้ายชื่อบริษัท ที่ติดตามอาคารร้านค้า และสถานที่ต่างๆ อยู่แทบทุกวัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า บริษัทจำกัดคืออะไร จะจัดตั้งอย่างไร จะต้องติดต่อหน่วยงานราชการไหน ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายเท่าไร เราจะจัดตั้งได้เองหรือเปล่า หรือจะต้องว่าจ้างใคร ให้ดำเนินการแทน คำถามเหล่านี้ จะได้ยินบ่อยมาก สำหรับความหมายของบริษัทจำกัด และรายละเอียดเกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ที่พอจะสรุปได้ว่า บริษัทจำกัด คือ บริษัทประเภทที่ตั้งขึ้น ด้วยแบ่งทุน เป็นหุ้นมูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัด เพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นทีตนถือ นอกจากนั้น ในการจดทะเบียนบริษัทจำกัด จะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ กำหนด พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นสวน และบริษัท พ.ศ.2538

ขั้นตอนจัดตั้งด้วยตัวเอง

ส่วนคำถามที่ว่า เราจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองดี หรือจะต้องว่าจ้างนักกฎหมาย ทนายความ หรือบริษัทที่เปิดให้บริการให้คำปรึกษา ทางด้านนี้โดยเฉพาะหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวก และต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้วย อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งบริษัทจำกัด มีขั้นตอนอยู่พอสมควร แต่ไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้าจะดำเนินการด้วยตนเอง โดยการขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดเตรียมคำขอ และเอกสารเพื่อการยื่นจดทะเบียน อย่างไรก็ตาม หากผู้เริ่มประกอบธุรกิจ ต้องการความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา ก็อาจว่าจ้างบุคคลอื่น ไปดำเนินการแทนได้ โดยผู้ประกอบการไม่ต้องทำอะไรมาก นอกจากการตระเตรียมข้อมูล และลงลายมือชื่อในเอกสารเท่านั้น ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการให้บริการนี้ จะขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ให้บริการ ถ้าผู้ให้บริการ เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนโดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายย่อมสูงกว่า การใช้บริการจากบริษัทสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานบัญชีทั่วไป

บทความนี้ จะขอกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทจำกัดด้วยตนเอง โดยไม่อยากจะว่าจ้างใคร ให้มาดำเนินการให้ เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่คิดจะเริ่มประกอบธุรกิจอันแรก เป็นของตนเอง ในยุคที่เศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัว การจัดตั้งบริษัทนั้น จะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. การขอจองชื่อบริษัท ผู้ประกอบการจะต้องนึกถึงว่าธุรกิจของตน ควรจะใช้ชื่ออะไร ที่จะสะดุดหูผู้คน มีความหมายดี และที่สำคัญคือต้องไม่เหมือน หรือคล้ายกับนิติบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เพราะอาจจะทำให้บุคคลทั่วไป หลงเข้าใจผิด หรือสับสน ชื่อที่ตั้งขึ้นนั้นก็แล้วแต่ความพึงพอใจของผู้ประกอบการ อาจตั้งชื่อเป็นภาษาไทย หรือภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่จะต้องไม่มีคำ หรือข้อความใดๆ ที่ขัดกับระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน และบริษัท พ.ศ.2538 เช่น การตั้งชื่อบริษัทจำกัดที่มีคำ หรือข้อความที่เกี่ยวกับพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน การตั้งชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่าส่วนราชการของประเทศไทย หรือต่างประเทศเป็นเจ้าของ หรือผู้ดำเนินการ การตั้งชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น ปัจจุบันการจองชื่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่าย โดยการลงทะเบียน และจองชื่อผ่านทางเว็บไซต์ www.thairegistration.com

นายทะเบียน จะใช้เวลาตรวจสอบภายใน 1 วัน แล้วจะแจ้งผลการจองชื่อกลับมาทางอี-เมล์ ว่าชื่อบริษัทที่จองไว้ ว่าซ้ำกับบริษัทอื่นที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ หากไม่ซ้ำ นายทะเบียน ก็จะอนุญาตให้ใช้ชื่อที่จอง เพื่อจดทะเบียนบริษัทได้ ซึ่งบางครั้งอาจจะแจ้งกลับมาภายใน 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น ชื่อของผู้ที่ใช้จองชื่อบริษัทจำกัดนั้น ควรจะเป็นผู้เริ่มก่อการบริษัทด้วย หากใช้ชื่อผู้ที่จอง เป็นบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว จะทำให้เสียเวลารอให้ชื่อที่จองแล้วนั้นหมดอายุ แล้วถึงจองชื่อใหม่ได้ ผู้ที่จองชื่อควรจะจองชื่อเผื่อไปอีก 2-3 ชื่อ (รวมเป็นชื่อที่สามารถจองทางเว็บไซด์ได้ทั้งหมด 3 ชื่อ) เพราะชื่อที่จองอาจจะซ้ำกับนิติบุคคลอื่น

2. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ เมื่อได้รับอนุญาตให้จองชื่อแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้จองชื่อ จะต้องมีผู้เริ่มก่อการ (บุคคลธรรมดา) อย่างน้อย 7 คน ผู้เริ่มก่อการคนใดคนหนึ่ง จะเป็นผู้เริ่มก่อการผู้ขอจดทะเบียน โดยการซื้อแบบฟอร์มาลิน และทำหน้าที่ดำเนินการขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานบริการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท หรือสำนักงานจดทะเบียนการค้าประจำจังหวัด รายละเอียดในหนังสือบริคณห์สนธิ จะต้องมีรายการดังต่อไปนี้

ชื่อบริษัท
จังหวัดที่ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท
วัตถุประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
ข้อแถลงแสดงว่าความรับผิดของผู้ถือหุ้น มีจำกัด
จำนวนทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นของบริษัท
ชื่อ ที่อยู่ อาชีวะ และจำนวนหุ้น ซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้ ของผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัท และลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการทุกคน
เมื่อเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาคำขอจดทะเบียน และเอกสารประกอบการจดทะเบียนแล้ว ถ้าถูกต้องไม่มีอะไรต้องแก้ไข ก็จะสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียม ผู้เริ่มก่อการที่ขดจดทะเบียนตามทุนที่ขอจดทะเบียน คือทุนจดทะเบียนทุกๆ 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม50 บาท เศษของหนึ่งแสนบาท คิดเท่ากับหนึ่งแสนบาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนให้

ผู้ก่อการต้องทำอะไรบ้าง

3. การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หลังจากที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิให้แล้ว ผู้เริ่มก่อการ จะต้องหาทุนมาใช้ในกิจการของบริษัท ตามจำนวนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งการหาทุน หรือระดมทุนกระทำได้โดยการขายหุ้น ผู้เริ่มก่อการที่เป็นผู้ดำเนินกิจการอาจจะเข้าซื้อกันเอง หรืออาจจะชักชวนเสนอขายให้กบบุคคลที่สนใจ ให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วยก็ได้ แต่อย่าลืมว่า ผู้เริ่มก่อการที่มีรายชื่ออยู่ในหนังสือบริคณห์สนธิ จะต้องเข้าซื้อหุ้นของบริษัท อย่างน้อยคนละ 1 หุ้น เมื่อมีผู้เข้าซื้อหุ้นกันจนครบตามมูลค่าแล้ว ก็จะต้องจัดให้มีการประชุมผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นทั้งหมด เพื่อมาตกลงกันในเรื่องต่างๆ ของบริษัท โดยผู้เริ่มก่อการ จะออกหนังสือนัดประชุมนี้ เราเรียกว่า "การประชุมตั้งบริษัท" หนังสือนัดประชุมนี้ จะต้องออกก่อนวันประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งกิจกรรมที่จะต้องทำให้ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท มีดังนี้

ทำความตกลงกันเรื่องข้อบังคับของบริษัท ข้อบังคับนี้เปรียบเสมือนกฎกติกา หรือระเบียบของบริษัท ที่จะกำหนดว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไร ในลักษณะใด ข้อบังคับ จะมีความสำคัญมาก ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ที่ผู้ถือหุ้น และกรรมการบริษัท จะละเลยมิได้ เพราะข้อบังคับจะกล่าวถึงหุ้น และผู้ถือหุ้น การโอนหุ้น กรรมการบริษัท การประชุมบริษัท การเพิ่ม และการลดทุน การจ่ายเงินปันผล ฯลฯ

ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญา ซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการ ได้ออกทดรองไปในการเริ่มก่อตั้งบริษัท เพราะก่อนที่บริษัทจะได้ก่อตั้งขึ้น ผู้เริ่มก่อการ อาจมีธุรกรรม หรือไปทำสัญญาบางอย่างเพื่อประโยชน์ของบริษัท เช่น ทำสัญญาเช่า สัญญาซื้อขายอุปกรณ์สำนักงาน หรือสัญญาจ้างพนักงาน ซึ่งสัญญาเหล่านี้ จะมีผลผูกพันบริษัท ได้ ก็ต่อเมื่อบริษัทได้ให้สัตยาบัน หากบริษัทยังไม่ให้สัตยาบัน ธุรกรรมต่างๆ ที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไปก่อนที่จะมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ผู้เริ่มก่อการยังคงต้องรับผิดชอบ เป็นการส่วนตัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ที่ประชุมตั้งบริษัท อนุมัติเห็นชอบ หรือที่เรียกว่า การให้สัตยาบัน

การกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ์ หรือหุ้นสามัญ ที่ชำระด้วยอย่างอื่น นอกจากตัวเงิน เนื่องจากบางบริษัท อาจจะมีหุ้นสามัญเพียงประเภทเดียว หรือบางบริษัท อาจจะมีทั้งหุ้นสามัญ และหุ้นบุริมสิทธิ์ หากมีหุ้นบุริมสิทธิ์ ก็ต้องกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ์ รวมทั้งกำหนดสภาพ และบุริมสิทธิ์แห่งหุ้นนั้นๆ ว่าเป็นสถานใดเพียงใด ในส่วนของหุ้นสามัญ ก็ต้องกำหนดจำนวนหุ้นสามัญ หากมีบางส่วนที่ต้องชำระเป็นอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน ก็ต้องมาทำความตกลงกันในที่ประชุม

การเลือกตั้งกรรมการ และผู้สอบบัญชีชุดแรกของบริษัท และกำหนดอำนาจของบุคคลเหล่านั้นว่ามีอะไร และทำอะไรได้บ้าง
นอกจากนั้น ที่ประชุมอาจทำการพิจารณา และตกลงกันในเรื่องอื่นๆ ได้ตามแต่ที่ประชุมจะเห็นสมควร เมื่อประชุมจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้ว และกรรมการได้รับชำระค่าหุ้น จากผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการชุดแรกของบริษัท จะต้องจัดทำคำของ และรายการจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบ โดยกรรมการผู้มีอำนาจตามมติที่ประชุมตั้งบริษัท เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเอกสาร แล้วดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้น ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท เมื่อเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาคำขอจดทะเบียน และเอกสารประกอบการจดทะเบียนแล้ว ถ้าถูกต้องไม่มีอะไรต้องแก้ไข ก็จะสั่งให้ชำระค่าธรรมเนียม โดยคิดค่าธรรมเนียม ตามทุนที่ขอจดทะเบียน คือทุนจดทะเบียนทุก ๆ 100,000 บาท คิดค่าธรรมเนียม 500 บาท เศษของหนึ่งแสนบาท คิดเท่ากับหนึ่งแสนบาท แต่มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำอยู่ที่ 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท เมื่อชำระค่าธรรมเนียมแล้ว นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนให้

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2545

การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด
ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
(1) ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
(2) เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
(3) ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
(4) เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
(5) กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
(6) เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท

การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด
ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้

รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
3.1 การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
3.2 มติพิเศษของบริษัทให้
(1) เพิ่มทุน
(2) ลดทุน
(3) ควบบริษัท
3.3 ควบบริษัท
3.4 แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริดณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
3.5 เพิ่มทุน
3.6 ลดทุน
3.7 กรรมการ
3.8 จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
3.9 ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
3.10 ตราของบริษัท
3.11 รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

วิธีการจดทะเบียน มีขั้นตอนดังนี้
(1) ในกรณีจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท ให้ผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการของบริษัทจะต้องขอตรวจและจองชื่อบริษัทเสียก่อนว่า ชื่อที่จะใช้นั้นจะซ้ำหรือคล้ายกับคนอื่นที่จดทะเบียนไว้ก่อนหรือไม่ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน
(2) ซื้อคำขอและแบบพิมพ์จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด
(3) จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบคำขอยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจพิจารณา
(4) ชำระค่าธรรมเนียมตามใบสั่งของเจ้าหน้าที่
(5) ถ้าประสงค์จะได้หนังสือรับรองรายการในทะเบียน ให้ยื่นคำขอและชำระค่าธรรมเนียมต่อเจ้าหน้าที่
(6) รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนและหนังสือรับรองรายการในทะเบียนได้

การลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการหรือกรรมการ
การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้ชำระบัญชี ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้านายทะเบียน
ในกรณีที่ไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้ ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ให้ผู้ขอจดทะเบียนลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
1. กรณีลงลายมือชื่อในราชอาณาจักร
(1) พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่
(2) สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือ
(3) บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด
2. กรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
(1) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานฑูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว
(2) บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น หรือ
(3) บุคคลที่ควรเชื่อถือได้สองคนมาลงลายชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง

สถานที่รับจดทะเบียน

1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 และส่วนจดทะเบียนกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตภูมิกาค สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ หรือทางอินเตอร์เน็ตเว็บไซต์ www.dbd.go.th

หน้าที่ของบริษัทจำกัด
(1) บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้ สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
(2) จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
(3) ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
(4) ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
(5) ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
(1) คำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
(2) คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของบริษัทขึ้นใหม่ ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ตั้งกรรมการขึ้นใหม่
(3) คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัทจำกัด หรือให้ควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
(4) คำขอจดทะเบียนตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
(5) คำขอจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการควบบริษัทเข้ากัน
(6) คำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(7) คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตัว
(8) คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
(9) คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
(10) การยื่นรายงานการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี ภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน

ประเภทการจดทะเบียน *ท่านสามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้หรือ
ขอรับแบบพิมพ์ได้ที่สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจหรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกแห่ง

ประเภทการจดทะเบียน

หนังสือบริคณห์สนธิ
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.2 (ใช้ทั้งสองหน้า)
เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว.
เอกสารประกอบ
แบบจองชื่อนิติบุคคล
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.2 (ใช้เฉพาะหน้า 1)
เอกสารประกอบรายการ : แบบ ว. (ในกรณีแก้ไขวัตถุประสงค์)
เอกสารประกอบ
แบบจองชื่อนิติบุคคล
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เริ่มก่อการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ตั้งบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2หน้า)
เอกสารประกอบรายการ : แบบ ก.
เอกสารประกอบ
แบบ บอจ.5
สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
สำเนาข้อบังคับ (ถ้ามี)
หลักฐานการชำระค่าหุ้นของบริษัทอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เอกสารที่ทางธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของบริษัท หรือ
(2) ใบสำคัญแสดงการชำระค่าหุ้นของบริษัท หรือ
(3) หนังสือยืนยันการชำระค่าหุ้นและการเก็บรักษาค่าหุ้นของบริษัท
หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
ข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ จำนวน (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
แบบ สสช. 1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
มติพิเศษของบริษัทให้ เพิ่มทุน, ลดทุน, ควบบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.4
เอกสารประกอบรายการ : -
เอกสารประกอบ
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หลักฐานให้ความเห็นชอบแล้วจากกรมการประกันภัย (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ควบบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.3 (ใช้ทั้ง 2 หน้า)
เอกสารประกอบรายการ
แบบ ก.
แบบ ว.
เอกสารประกอบ
แบบ บอจ.5 ของบริษัทใหม่ที่ควบกัน
แบบจองชื่อนิติบุคคล
หนังสือบริคณห์สนธิ ฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
สำเนาข้อบังคับของบริษัทใหม่ (ถ้ามี)
ข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ) (ถ้ามี)
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หลักฐานให้ความเห็นชอบแล้ว จากกรมประกันภัย (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย)
แบบ สสช. 1 จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนควบบริษัท

การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.4
เอกสารประกอบรายการ :แบบ ว. (ใช้เฉพาะกรณีแก้ไขวัตถุประสงค์)
เอกสารประกอบ
แบบจองชื่อนิติบุคคล (ใช้เฉพาะกรณีแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัท)
หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หลักฐานให้ความเห็นชอบแล้วจากกรมการประกันภัย (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำตัวอย่างการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อที่ 3
ตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัท
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.4
เอกสารประกอบรายการ : -
เอกสารประกอบ
ข้อบังคับที่ตั้งขึ้นใหม่หรือข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับตีพิมพ์ จำนวน 2 ฉบับ (ภูมิภาคใช้ 3 ฉบับ)
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หลักฐานให้ความเห็นชอบแล้ว จากกรมการประกันภัย ในกรณีที่บริษัทประกอบธุรกิจประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย
บริษัทใดประสงค์จะจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเพื่อเปลี่ยนรอบปีบัญชีมาเป็นบัญชีที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม สิ้นสุด 31 ธันวาคม จะต้องแนบหนังสือขอเปลี่ยนรอบปีบัญชี ซึ่งระบุงวดปีบัญชีที่จะเริ่มทำการเปลี่ยนใหม่ ต่อสารวัตรใหญ่บัญชี หรือสารวัตรบัญชีพร้อมคำขอจดทะเบียน
ในกรณีขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ เพื่อเปลี่ยนรอบบัญชีแตกต่างไปจากวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอจดทะเบียน แนบหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชีจากกรมสรรพากร หรือธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วแต่กรณีพร้อม คำขอจดทะเบียน
ในกรณีที่บริษัทยังไม่เคยดำเนินการเปิดรอบบัญชีเพื่อจัดทำงบดุลให้บริษัททำหนังสือยืนยันว่า ตั้งแต่จดทะเบียน จัดตั้งบริษัทมายังไม่เคยดำเนินการปิดบัญชี เพื่อจัดทำงบดุลประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
แก้ไขเพิ่มเติมบริษัท ได้แก่ เพิ่มทุน, ลดทุน, กรรมการ, จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท, ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา, ตราของบริษัท,รายการอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ทราบแก่ประชาชน
คำขอ : แบบ บอจ.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ บอจ. 1)
รายการ : แบบ บอจ.4
เอกสารประกอบรายการ : แบบ ก.(ใช้เฉพาะกรณีมีกรรมการเข้าใหม่)
เอกสารประกอบ
สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หลักฐานการชำระค่าหุ้นของบริษัท อย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (กรณีเพิ่มทุน)
(1) เอกสารที่ทางธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือ แสดงฐานะการเงินของบริษัท
(2) ใบสำคัญแสดงการชำระค่าหุ้นของบริษัท
(3) หนังสือยืนยันการรับชำระค่าหุ้นและการเก็บรักษาค่าหุ้นของบริษัท
หลักฐานการอนุญาตให้ เพิ่มทุน ลดทุน แต่งตั้งกรรมการใหม่ แก้ไขเพิ่มเติมสำนักงานแห่งใหญ่ และหรือสำนักงานสาขา จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ คณะกรรมการกำกับกลักทรัพย์และตลาดกลักทรัพย์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ หรือกรรมการประกันภัย แล้วแต่กรณี (ใช้เฉพาะบริษัทที่ประกอบธุรกิจ เงินทุน หรือหลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ หรือธนาคารพาณิชย์ หรือประกันภัย หรือนายหน้าประกันภัย)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท

ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท

ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนลดทุนบริษัท
เลิกบริษัท
คำขอ : แบบ ลช. 1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช. 1)
รายการ : แบบ ลช.2
เอกสารประกอบรายการ : -
เอกสารประกอบ
คำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ใช้ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรกและครั้งหลังซึ่งมีมติให้เลิกบริษัท โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทน บริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท ลงชื่อรับรองความถูกต้อง (เฉพาะกรณีผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจ คนใดคนหนึ่งในจำนวนกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิกบริษัท)
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนเลิกบริษัท
แก้ไขเพิ่มเติมการเลิกและชำระบัญชีของบริษัท
คำขอ : แบบ ลช.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช. 1)
รายการ : แบบ ลช.2
เอกสารประกอบรายการ : -
เอกสารประกอบ
คำสั่งศาลให้เปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี หรือกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชี (ถ้ามี)
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูตัวอย่างการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมการเลิกบริษัท
เสร็จการชำระบัญชีบริษัท
คำขอ : แบบ ลช.1 , หน้าหนังสือรับรอง (ในการ Print-out หนังสือรับรอง ให้อยู่ด้านหลังของหน้าแบบ ลช. 1)
รายการ : แบบ ลช.5
เอกสารประกอบรายการ
แบบ ลช.3 พร้อมเอกสารประกอบ
แบบ ลช.6
เอกสารประกอบ
สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
สำเนาบัตรทนายความหรือหลักฐานการเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
แบบรับรองการตรวจสอบบัญชีของกรมสรรพากร
หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
ดูคำแนะนำและตัวอย่างการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีบริษัท
(สามารถเข้าไป Download แบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าhttp://www.dbd.go.th/thai/register/detail5_b.phtml

โดย smesplannet.com
More aboutเอสเอ็มอี (SMEs) เมื่อจะต้อง จัดตั้งบริษัท เอง ทำได้อย่างไร

หลักการออกแบบ LOGO เพื่อธุรกิจ SMES

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555



Logo เป็นองค์ประกอบหลักของงานออกแบบแทบจะทุกประเภท เพราะจะทำให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจดจำสัญลักษณ์นี้ติดตาตลอดไป  วันนี้ไปอ่านเจอหลักการสำหรับการออกแบบโลโก้ หรือสัญลักษณ์ให้ลูกค้าจดจำแบรนด์ของคุณตลอดไป…

หลักการง่าย ๆ ไม่มีอะไรมาก



  1. ง่ายไม่ซับซ้อน

  2. จดจำได้ง่าย

  3. ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

  4. นำไปใช้ได้หลากหลาย

  5. เหมาะสม


และที่นี้เราจะมาดูกันว่าแต่ละอย่างนั้น มันคืออะไร (ขอเป็นคร่าว ๆ หละกันนะ)

1. ง่ายไม่ซับซ้อน




การออกแบบที่ดีนั้นไม่จำเป็นต้องซับซ้อนอะไรมากมายเพราะหากยุ่งเหยิงซับซ้อนมากไป นั่นก็หมายความว่าการจดจำก็ยิ่งยากมากขึ้น ทำให้ลูกค้าสับสนหรือไม่จดจำเลยก็ได้ ดังนั้นควรคำนึงถึงการออกแบบที่เรียบง่ายเข้าไว้

2. จดจำได้ง่าย



อันนี้ก็เป็นผลพลอยจากข้อ 1 ซึ่งหากเราออกแบบไม่ยากแล้วการที่คนจะจดจำ Logo ของเรานั้นก็ไม่ยาก ดังนั้นพยายามออกแบบให้ง่ายแก่การจดจำ ดังจะเห็นได้จากแบรนด์หรือสัญลักษณ์ด้่านบน มองปุ๊บก็พอจะจำได้ทันทีว่านี้เป็นสัญลักษณ์ของอะไร

3. ไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา




การออกแบบที่ดีออกข้อคือไม่ควรเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาบ่อย ๆ เพราะจะให้คนสับสน หากมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมากเกิน หรือหากจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ควรออกแบบจากหน้ามือเป็นหลังมือควรออกแบบให้ใกล้เคียงกับรูปแบบเดิมมากที่สุดเพียงแต่ให้ดูทันสมัยตามกาลเวลาเท่านั้นเอง ดังตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่า โลโก้ โคคา โคล่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแปลงแม้จะผ่านไปเนินนานเท่าใด


4. นำไปใช้ได้หลากหลาย




การออกแบบแบรนด์หรือโลโก้ ไม่ใช่เพียงการออกแบบแสดงโชว์เพียงที่หน้าจอเท่านั้น การออกแบบควรคำนึงถึงการนำไปใช้งานด้วย เช่น การออกแบบเพื่อรองรับงานพิมพ์ ซองจดหมาย, นามบัตร, การ์ดต่างๆ , ป้ายโฆษณา, บรรจุภัณฑ์ , รวมไปถึงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และอื่น ๆ เพื่อการออกแบบให้รองรับงานเหล่านี้ส่วนมากการออกแบบ Logo จะเป็นงานประเภท Vector ที่สามารถปรับขนาดและส่วนอื่น ๆ ให้เข้ากับงานที่คุณจะนำไปใช้ได้อย่างงายดายและไม่ผิดเพืี้ยน…

5. เหมาะสม




ความเหมาะสม ก็คือ ความเหมาะสมกับงานสัญลักษณ์หรือ Logo ที่เราออกแบบนั้นต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับงานเรา เช่นจากตัวอย่างโลโก้ด้านบน จะเป็นโลโก้ของเว็บไซต์ขายของเล่นเด็ก จะเห็นได้ว่าโลโก้มีสีสันดึงดูดสายตา ฟอนต์ออกไปแนวการเขียนมากกว่าจะใช้ฟอนต์ทางการ หากเป็นเรามองก็จะรู้ได้เลยว่า มันน่าจะเกี่ยวข้องกับเด็ก ๆ แน่แน่..

อ่านบทความแบบละเอียดที่


Credit : ethaidesign.com
More aboutหลักการออกแบบ LOGO เพื่อธุรกิจ SMES

กลยุทธ์ธุรกิจ (Business strategy)

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

กลยุทธ์ทางธุรกิจ  


       เป้าหมายทางธุรกิจ คือ การทำให้บริษัทได้กำไรสูงสุด ต้นทุนต่ำสุด โดยทุกบริษัทจะต้องวางยุทธศาสตร์ของบริษัท  หลังจากนั้น บริษัทก็จะวางแผนทางด้านยุทธวิธีหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายที่บริษัทได้วางไว้

                สำหรับการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจได้มีชุดความคิด 3 ชุดความคิดใหญ่ๆ ดังนี้               

               1.  การวางกลยุทธ์วิเคราะห์โดยใช้หลัก SWOT ซึ่งมีหลักอยู่  4 ประการ คือ S หมายถึง จุดแข็ง  W หมายถึง จุดอ่อน  O หมายถึง โอกาส  และ T หมายถึง ภัยคุกคาม ตัวอย่างการวิเคราะห์ของบริษัทแห่งหนึ่ง S บริษัทมีจุดแข็งอะไรบ้าง เช่น มีความมั่นคงด้านการเงิน   W บริษัทมีจุดอ่อนอะไรบ้าง เช่น ขาดระบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  Oบริษัทมีโอกาสอะไรบ้าง เช่น ตลาดในธุรกิจนี้มีแนวโน้มเติบโตได้ดี  T บริษัทมีภัยคุกคามอะไรบ้าง เช่น การเปิดเสรีทางการค้าจะทำให้คู่แข่งเพิ่มขึ้น               

             2.  การวางกลยุทธ์วิเคราะห์โดยใช้หลัก Balanced Scorecard ซึ่งมีหลักกลยุทธ์ 4 ด้าน คือ 1. กลยุทธ์ด้านการเงิน (Finance Perspective)  เช่น เน้นการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ 2. กลยุทธ์ด้านลูกค้า (Customer Perspective) เช่น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า  3. กลยุทธ์ด้านกระบวนการจัดการภายใน (Internal  Process) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  4. กลยุทธ์ด้านการเรียนรู้และการเติบโต (Learning & Growth) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงาน    

            3. การวางกลยุทธ์โดยใช้ชุดความคิดเกี่ยวกับ P-Q-C-D-S-M-E  เช่น  P = กลยุทธ์เกี่ยวกับผลผลิต (Productivity)  Q= กลยุทธ์เกี่ยวกับคุณภาพ (Quality)  C= กลยุทธ์เกี่ยวกับต้นทุนค่าใช้จ่าย (cost)  D= กลยุทธ์เกี่ยวกับการส่งมอบ (Delivery)  S= กลยุทธ์เกี่ยวกับความปลอดภัย (Safety)  M= กลยุทธ์เกี่ยวกับขวัญและกำลังใจของพนักงาน (Morale)  E= กลยุทธ์เกี่ยวกับจรรยาบรรณ (Ethics)     

           เมื่อได้กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจจาก 3 ชุดความคิดหลัก เราก็จะต้องมีตัวชี้วัดผลงานว่า ได้ทำงานที่วางไว้ตามเป้าหมายหรือไม่   ซึ่งตัวชี้วัดผลงานเชิงกลยุทธ์มีชื่อแตกต่างกัน ดังนี้ 1. Strategic Measure  หมายถึง ตัวชี้วัดผลงานเชิงกลยุทธ์  2. Strategic KPI (Key Performance Indicator) หมายถึง ตัวชี้วัดผลงานหลักเชิงกลยุทธ์   3. Corporate KPI หมายถึง ตัวชี้วัดผลงานหลักในระดับองค์กร  ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทางด้านเพิ่มอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น  ตัวชี้วัด KPI ก็คือ กำไรที่เพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์การเติบโตของกำไร  อัตราเงินปันผล หรือกรณีที่บริษัทมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ทางด้านการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า  ตัวชี้วัด KPI ก็คือ คะแนน Customer Satisfaction Index (CSI) จำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้า  เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ยังคงอยู่กับองค์กร  เปอร์เซ็นต์ลูกค้าแนะนำ  เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ชื่อซ้ำและต่อเนื่อง 

               จะเห็นได้ว่า การวางกลยุทธ์ทางธุรกิจเราสามารถที่จะใช้กรอบแนวความคิดทางกลยุทธ์ซึ่งมี 3 แนวคือ 1. ใช้หลักการ SWOT 2.  ใช้หลัก Balanced Scorecard  3. ใช้หลัก P-Q-C-D-S-M-E เพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ คือ จะทำให้บริษัทได้กำไรสูงสุด  จากนั้น บริษัทก็จะมีตัวชี้วัดว่า กลยุทธ์ต่างๆ ที่บริษัทได้วางไว้นั้นบรรลุผลที่วางไว้หรือไม่  ทั้งหมดนี้เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจและตัวชี้วัดความสำเร็จในองค์กรภาคเอกชน

แหล่งที่มา : ไทยโพสต์
เขียนโดย วิษณุ บุญมารัตน์
More aboutกลยุทธ์ธุรกิจ (Business strategy)

ก้าวที่พลาดใน การเริ่มต้นธุรกิจ ของ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การเริ่มต้นทำธุรกิจในปีแรกนั้น ถือว่าเป็นการท้าทายผู้ประกอบการ SMEs เป็นอย่างมาก เนื่องจาก เป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ และเป็นครั้งแรกสู่การประลองการแข่งขันในธุรกิจ ด้วยความมุ่งหวังที่ว่าธุรกิจจะต้องไปได้ด้วยดีและประสบความสำเร็จได้ในที่สุด

แต่มันคงไม่ง่ายเช่นนั้น เนื่องจาก ในโลกของความเป็นจริงยังมีปัจจัยต่างๆ ที่พร้อมจะเกิดขึ้นมาใหม่ ทำให้เราต้องหาทางแก้ไขหรือปรับปรุงธุรกิจให้ทันท่วงที ไม่เช่นนั้นแล้ว ธุรกิจอาจถึงทางตันและจบลงเร็วกว่าที่คิด เพราะฉะนั้น จงตระหนักไว้เสมอว่า ธุรกิจพร้อมที่จะเกิดข้อผิดพลาดและลบเหลวได้เสมอ หาก SMEs มองข้ามความสำคัญของแง่มุมบางอย่างผิดพลาดไป SMEs สามารถก้าวข้ามผ่านข้อผิดพลาดต่างๆ ได้ หากเข้าใจก้าวพลาดในการเริ่มต้นธุรกิจ และนี่คือคำแนะนำที่จะทำให้ ธุรกิจ SMEs เกิดใหม่ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ควรเลือกเดินทางไปทางนั้น

ก้าวที่พลาด 1        ดำเนินธุรกิจโดยไม่รู้ทิศทาง


ก้าวที่พลาด 2        กำหนดราคาต่ำจนเกินไป เพื่อหวังยอดขายสูง


ก้าวที่พลาด 3        ทำธุรกิจเพียงเพราะอยากลองทำดู


ก้าวที่พลาด 4        การไม่รู้ว่าตลาดที่แท้จริงอยู่ตรงไหน


ก้าวที่พลาด 5        ใช้เงินทุนอย่างไม่มีแบบแผน


ก้าวที่พลาด 6        การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบที่เลื่อนลอย


ก้าวที่พลาด 7        มองข้ามความสำคัญของคนใกล้ตัว


และนี่คือคำแนะนำ ที่อาจจะมีส่วนช่วยให้ SMEs เริ่มต้นธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและมีความรอบครอบในการที่จะมอง ก้าวที่พลาด ที่อาจจะทำให้คุณมองข้ามแล้วเป็นเหตุให้ต้องมาเสียใจภายหลัง

ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ จาก SMEsmart.is.in.th
More aboutก้าวที่พลาดใน การเริ่มต้นธุรกิจ ของ SMEs

การจัดทำโครงการเพื่อ ขอเงินกู้ สำหรับธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand on วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การจัดทำโครงการเพื่อขอเงินกู้สำหรับธุรกิจ SMEs
More aboutการจัดทำโครงการเพื่อ ขอเงินกู้ สำหรับธุรกิจ SMEs

แหล่งการเงิน อื่นๆ สำหรับธุรกิจ SMEs.

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ แหล่งการเงินอื่นๆ สำหรับธุรกิจ SMEs.
More aboutแหล่งการเงิน อื่นๆ สำหรับธุรกิจ SMEs.

แหล่งเงินทุน จากธนาคารพาณิชย์

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ แหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์
More aboutแหล่งเงินทุน จากธนาคารพาณิชย์

บัญชี…เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ บัญชี…เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร
More aboutบัญชี…เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร

เทคโนโลยีสะอาด สำหรับธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ เทคโนโลยีสะอาดสำหรับธุรกิจ SMEs
More aboutเทคโนโลยีสะอาด สำหรับธุรกิจ SMEs

การคัดเลือกวัตถุดิบ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การคัดเลือกวัตถุดิบ
More aboutการคัดเลือกวัตถุดิบ

มาตรฐานและ ระบบคุณภาพ สำหรับธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ มาตรฐานและระบบคุณภาพสำหรับธุรกิจ SMEs
More aboutมาตรฐานและ ระบบคุณภาพ สำหรับธุรกิจ SMEs

การควบคุมคุณภาพ เบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การควบคุมคุณภาพเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ
More aboutการควบคุมคุณภาพ เบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ

เทคโนโลยีการผลิต ที่ผู้ประกอบการควรรู้

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ เทคโนโลยีการผลิตที่ผู้ประกอบการควรรู้
More aboutเทคโนโลยีการผลิต ที่ผู้ประกอบการควรรู้

การวางแผน ระบบบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การวางแผนระบบบัญชีสำหรับธุรกิจ SMEs
More aboutการวางแผน ระบบบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs

ภาพรวม การบริหารร้านค้า SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ ภาพรวมการบริหารร้านค้า SMEs
More aboutภาพรวม การบริหารร้านค้า SMEs

การฝึกอบรม บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การฝึกอบรมบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ
More aboutการฝึกอบรม บุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การคัดเลือกบุคลากร คุณภาพ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่ การคัดเลือกบุคลากรคุณภาพ
More aboutการคัดเลือกบุคลากร คุณภาพ

การจัดการโครงสร้างองค์กรเพื่อธุรกิจ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด การเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจ smes และ แผนธุรกิจ (Business Plan) ได้นี่  การจัดการโครงสร้างองค์กรเพื่อธุรกิจ
More aboutการจัดการโครงสร้างองค์กรเพื่อธุรกิจ

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ของแผนธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

สามารถ คลิกดาวน์โหลด ได้ที่นี่ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจ SMEs
More aboutการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ของแผนธุรกิจ SMEs

สู่ความสำเร็จใน การเขียนแผนธุรกิจ SMEs

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

แผนธุรกิจ ตัวอย่างแผนธุรกิจ SMEs sme เอสเอ็มอี แฟรนไชส์ เฟรนไชส์ franchise ธุรกิจ บริการ ตลาด การตลาด แผนการตลาด มาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์การตลาด บัญชี รับทำบัญชี รายได้ แผนการเงิน ไฟแนนซ์ รีไฟแนนซ์ รับเขียนแผนธุรกิจ รับทำแผนธุรกิจ รับเขียนแผนการตลาด รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการเงิน รับทำแผนการ เงิน การเขียนแผนธุรกิจ วิธีการเขียนแผนธุรกิจ หลักการเขียนแผนธุรกิจ ธุรกิจ เริ่มธุรกิจ เริ่มต้นธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ เอสเอ็มอี สินเชื่อ ขอสินเชื่อ เงินกู้ เงินกู้ ขอกู้ บริการแผน ธุรกิจ บริการจัดทำแผนธุรกิจ วิจัย วิจัยตลาด วิจัยธุรกิจ แผนธุรกิจ business plan biz plan Marketing Plan

คลิกดาวน์โหลด ได้ที่นี่ สู่ความสำเร็จในการเขียนแผนธุรกิจ SMEs
More aboutสู่ความสำเร็จใน การเขียนแผนธุรกิจ SMEs

เคล็ดลับ (ไม่ลับ) ในการสรุปข้อเสนอ หรือแผนงานให้ น่าสนใจ

เขียนโดย SMEs Plannet Thailand

การสรุปข้อเสนอหรือแผนงานให้เกิดความน่าสนใจนั้น ถือเป็นเคล็ดลับสุดยอดของการนำเสนองาน หรือแผนงานต่าง ๆ SMEs ลงมาดู เคล็ดลับ การนำเสนอ เพื่อให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  1. วางโครงเรื่องอย่างเป็นระบบ

  2. พาดหัวต้องสั้นกระชับและสื่อให้ตรงประเด็น

  3. สรุปเนื้อหาด้วยประโยคสั้นๆ หรือใช้ Keyword และสรุปเป็นหัวข้อ เพื่อให้เห็นภาพรวม

  4. เนื้อเรื่อง ต้องชัดเจน ตรงกับประเด็นที่ต้องการนำเสนอ

  5. ใช้ภาพ กราฟ แผนผัง และข้อมูลต่างๆ ประกอบคำอธิบาย เพื่อเพิ่มความชัดเจนและความน่าสนใจ

  6. ต้องสร้างความสอดคล้องกลมกลืนและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ เรายังสามารถ “เติมแต่งเสน่ห์” ให้กับข้อเสนอหรือแผนงานของเราได้ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย เช่น


    • การใช้ลักษณะตัวอักษร เพื่อย้ำจุดสำคัญ หรือเน้นจุดที่เป็น Highlight

    • การใช้สีสันเข้ามาประกอบทั้งสีตัวอักษร สีภาพ สีกราฟ ฯลฯ แต่ทั้งนี้ก็ต้องให้สัมพันธ์เหมาะสมกับเนื้อหาด้วย

    • การใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ลูกศร เส้นทึบ เส้นประ ฯลฯ มาเป็นส่วนประกอบในการนำเสนอ เป็นต้น



ข้อมูลจาก  tpa.or.th
More aboutเคล็ดลับ (ไม่ลับ) ในการสรุปข้อเสนอ หรือแผนงานให้ น่าสนใจ

Popular Posts